เทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริการจัดการ ได้แก่การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการศึกษา ประกอบด้วย
1) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นการผลิตหรือพัฒนาอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิค ที่สามารถนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามความประสงค์ของผู้ใช้ด้วยคำสั่งที่เราสร้างขึ้น (CAI)
2) เทคโนโลยีฐานข้อมูล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์น้อยถ้าไม่มีโปรแกรมที่สามารถเก็บและเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว
3) เทคโนโลยีการสื่อสาร ระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับฐานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ตามสายโลหะและแสงใยแก้ว
4) เทคโนโลยีการศึกษา นำมาใช้กับผู้เรียนซึ่งมีธรรมชาติการเรียนที่แตกต่างกัน
ศักยภาพของไอซีทีที่สนับสนุนการเรียนรู้
อินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นสื่อกลางของไอซีทีทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะเว็บซึ่งเป็นบริการสำคัญบนอินเตอร์เน็ต การประยุกต์ไอซีทีให้เกิดประสิทธิผลจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อการเรียนการสอน ซึ่งอาจแยกออกเป็นประเด็นสำคัญได้
6 ประการ ดังนี้
1) การค้นคืนสารสนเทศ
2) การค้นหาสารสนเทศ
3) การติดต่อสื่อสาร
4) การเข้าถึงสารสนเทศปฐมภูมิ
5) การเข้าถึงสารสนเทศมัลติมีเดีย
6) การรังสรรค์งาน
การค้นคืนสารสนเทศ เป็นการนำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ออกมาใช้งาน ผ่านการถ่ายโอนแฟ้ม (FTP)
· การอัพโหลด (upload) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าการถ่ายโอนขึ้น
· การดาวน์โหลด (download) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่าย เรียกว่า การถ่ายโอนลง
การค้นหาสารสนเทศ เป็นการค้นหาสารสนเทศที่มีคุณค่ามากมายเช่น เอกสาร วารสาร บทความ หนังสือซึ่งสารสนเทศเหล่านี้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อเข้าถึงได้ในเวลาที่ต้องการนำมาใช้งานประกอบด้วย
· โปรแกรมค้นหา (Search Engine) เช่น Google.com
· สารบบเว็บ (Web Directory) เช่น Yahoo.com เว็บไซต์เหล่านี้จัดรวบรวมระบบกลุ่มสารสนเทศ โดยแยกเป็นหัวข้อในลักษณะแตกกิ่งก้านเหมือนต้นไม้ และจัดแบ่งออกเป็นหัวข้อหลักต่าง ๆ เช่น Arts,Businees and Economy ฯลฯ
· การค้นหาจากโปรแกรมค้นหา ( Mata Search Engine) เป็นเว็บไซต์ที่ไปค้นหาจากเว็บไซต์ค้นหาอีกทีหนึ่ง
การติดต่อสื่อสาร เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการสะท้อนความคิดหรือบันทึกอนุทินการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การส่งการบ้าน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานกลุ่ม การเก็บผลงานการแบ่งปันแหล่งเรียนรู้ ได้แก่
· e –mail
· กระดานข่าว (Webbord)
· กระดานอภิปราย(Forum)
การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
สารสนเทศปฐมภูมิ หมายถึง สารสนเทศที่มาจากเจ้าของข้อมูลโดยตรงในทุกสาขาวิชาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นักเรียนในช่วงวัยรุ่นจะมีความสามารถในคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตีความหมายหลากหลายของข้อความได้ เขียนเพื่อสื่อความกับผู้อ่านได้หลายระดับ สื่อสารความคิดที่ซับซ้อนและมีความคิดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อครูสร้างบรรยากาศการเรียนในห้องเรียนที่ท้าทายความสามารถของนักเรียน เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ( สภาพอากาศ) เป็นต้น
การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศมัลติมีเดีย
ศักยภาพของไอซีทีในการเป็นเครื่องมือค้นคว้าและเข้าถึงแหล่งสารสนเทศททั้งที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย บทเรียนมัลติมีเดีย สื่อวีดิโอ สื่อรูปภาพ สื่อเสียง สื่อภาพเคลื่อนไหวได้อีกด้วย แหล่งสารสนเทศมัลติมีเดียในรูปของมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ มีมากมายหลายแหล่งสำหรับให้ครูนำมาใช้ประกอบการอธิบาย หรือให้นักเรียนเข้าไปศึกษาในเว็บประกอบการเรียนบทเรียน การรังสรรค์งาน เป็นการนำไอซีทีมาใช้เพื่อการจัดการการเรียนรู้ตามแนว Constructionism ให้มีความสมบูรณ์ซึ่งมีซอร์ฟแวร์หลายรูปแบบที่สามารถเลือกหามาเป็นเครื่องมือสร้างชิ้นงานหรือประกอบการสร้างชิ้นงาน
การรังสรรค์งาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน
เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยครูมีประสบการณ์ด้านเนื้อหา และนักเรียนมีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี
กลวิธีการบูรณาการไอซีทีในการเรียนการสอน
· ใช้ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมสารสนเทศและการวิเคราะห์
· ใช้ในการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ
· ใช้เว็บเป็นติวเตอร์หรือผู้สอน
· เผยแพร่ผลงานนักเรียน
· อภิปราย / กระจายความคิด
· ร่วมมือในการทำโครงงานด้วยกันโดยใช้ทรัพยากรจากเว็บ
· ใช้ทรัพยากรมัลติมีเดียจากเว็บ
· เตรียมนักเรียนให้มีความสามารถด้านสารสนเทศ
· ใช้เทคโนโลยีอย่างมีจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปการเรียนรู้
· ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยโครงงานหรือการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาโดยใช้มัลติมีเดีย
ทักษะที่จำเป็นของผู้บริหารในการนำเทคโนโลยีมาใช้
1) ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์... เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำมาใช้
2) ทักษะการคิดนอกกรอบ ... กล้าคิดต่าง เพื่อเปิดโลกทัศน์สู่มุมมองใหม่ ๆ
3) ทักษะการคิดสร้างสรรค์... ที่ไม่เคยมีมาก่อน / ใช้การได้ / มีความเหมาะสม
4) ทักษะการสื่อสารสร้างความเข้าใจ... เพื่อกระตุ้นและโน้มน้าวใจให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี
5) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
5.1) การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ ( E-mail)
5.2) การประชุมร่วม (Electronic Mail and Conference)
5.3) การสืบค้น / การพิมพ์เอกสาร / การเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
ข้อควรคำนึงของผู้บริหารที่มีต่อการส่งเสริมสนับสนุน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1) ต้องเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
2) ต้องกล้าลงทุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และการซ่อมบำรุงเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้
3) พึงระวังการใช้ประโยชน์มิชอบและป้องกันอาชญากรรมต่อข้อมูล
4) ผู้บริหารต้องติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอยู่เสมอ
5) การฝึกตัดสินใจในสภาวะที่กดดันเพราะการถ่ายทอดข้อมูลจะใช้เวลาสั้นมากอาจตัดสินใจผิดพลาดไ
6) ผู้บริหารต้องโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น